วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2562

as/rs หมายถึงอะไร

ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ
                               ( Automated Storage/Retrieval System หรือเรียก AS/RS )

ระบบเทคโนโลยีกับการจัดการคลังสินค้า
               ระบบเทคโนโลยีเพื่อการจัดการคลังสินค้า นอกจากจะใช้ระบบซอฟแวร์ในการบริหารคลังสินค้าแล้ว ปัจจุบันทุกคลังสินค้าได้นำระบบ Barcode มาใช้เพื่อเป็นการสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ทางธุรกิจ ซึ่งถือว่าเป็นระบบเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงมากในเรื่องการลดความผิดพลาด สามารถเก็บรวบรวมข้อมูล ตรวจเช็คสินค้าโดยไม่ต้องใช้คนนับ ลดความผิดพลาดในการทำงานได้มาก นอกจากนี้ยังมีคลังสินค้าสมัยใหม่เป็นจำนวนมากที่เริ่มนำเทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในคลังสินค้าให้สะดวก และรวดเร็ว ลดความผิดพลาดจากการทำงาน สามารถสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ภายในคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการดำเนินงาน ลดความซ้ำซ้อนจากการทำงาน ระบบเทคโนโลยีที่ใช้กับคลังสินค้าสามารถแบ่งได้เป็น 4 ส่วน ดังนี้
                          1. เทคโนโลยีที่เป็นโปรแกรมคุมเครื่อง
                          2. เทคโนโลยีที่เป็นโปรแกรมจัดการวัสดุและสินค้าคงคลัง
                          3. ระบบฐานข้อมูล (Database System)
                          4. เทคโนโลยีในการบ่งบอกและติดตามสินค้า

       โดยมีรายละเอียดและสาระสำคัญของระบบเทคโนโลยีที่ใช้ในคลังสินค้า ดังนี้
                          1. เทคโนโลยีที่เป็นโปรแกรมควบคุมเครื่อง ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
                           1.1 Computer Aided Design (CAD) หมายถึง การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่อใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งช่วยประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลดความสูญเสียและเสียหายในส่วนงานขององค์การ ใช้มากในกระบวนการผลิต
                           1.2 Computer Aided Manufacturing (CAM) หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์เข้าควบคุมเครื่องจักรและเครื่อง มือต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในกระ บวนการผลิตแต่ละจุด ช่วยในการวางผังในกระบวนการ ระบบการใช้ในปัจจุบันจะใช้เชื่อมโยงระหว่างกระบวนการผลิตกับการจัดซื้อ การจัดเก็บรักษา และสินค้าคงคลังต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาวะที่สมดุล และเหมาะสม
                        1.3 ระบบการจัดเก็บสินค้าอัตโนมัติ AS/RS (Automatic Storage & Retrieval System) เป็นวิธีการควบคุมทางคอมพิวเตอร์สำหรับการเก็บ และการนำเอาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ออกมาจากสถานที่จัดเก็บ

                          1.4 ระบบควบคุมพาหนะนำทางอัตโนมัติ AGVs (Automated guided vehicles) เป็นส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมการทำงานของพาหนะทำงานอัตโนมัติ ที่เชื่อมต่อกับระบบขนถ่ายอื่น ๆ เช่น สายพาน การนำทางพาหนะสามารถใช้ระบบนำทางด้วยเลเซอร์ การฝังสายไฟใต้พื้น หรือฝังแม่เหล็กลงในพื้นคลังสินค้าและควบคุมการทำงานของพาหนะที่ใช้ในการขนถ่ายสินค้าด้วยคอมพิวเตอร์ พาหนะเหล่านี้เป็นรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าไม่ใช้คนขับ ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ทำงานตามคำสั่งด้วยระบบคลื่นวิทยุ หรือการฝังสายใต้พื้น อุปกรณ์ควบคุมจะจับสัญญาณบนพาหนะว่ามีการเคลื่อนที่ตามกำหนดหรือไม่ สัญญาณจะถูกส่งไปยังมอเตอร์พวงมาลัยเพื่อบังคับทิศทางให้สามารถไปหยิบสินค้าจากสถานที่จัดเก็บไปส่งยังสถานที่ที่กำหนดระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ 

              ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ
      ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ (Automated Storage/Retrieval System  เรียกโดยย่อว่า AS/RS)  คือ การทำงานของระบบการจัดเก็บในคลังสินค้าหรือโกดัง ที่มีการควบคุมด้วยระบบการจัดเก็บวัสดุ การรับวัสดุ รวมทั้งการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ขนถ่าย ที่ทำงานร่วมกับโรงงานและคลังสินค้า ซึ่งสามารถออกแบบการใช้งานให้เหมาะสมกับการทำงานลักษณะต่างๆได้ โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดเก็บและเรียกใช้ของอุปกรณ์ แบบ AS/RS จะพิจารณาจากลักษณะโครงสร้างของหิ้งที่ใช้จัดเก็บ ความเร็วในการเคลื่อนของอุปกรณ์ AS/RS ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ

            ระบบ AS/RS แบ่งออกเป็นแบบต่าง ๆ ดังนี้
                       - Unit Load AS/RS
                       - Miniload AS/RS
                       - Man-on-Board AS/RS หรือ Manaboard AS/RS
                       - Automated Item Retrieval System
                       - Deep-Lane AS/RS

            องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ AS/RS
                     1. โครงสร้างที่เก็บวัสดุ (Storage Structure)
                     2.  เครื่อง S/R (Storage/Retrieval Machine)
                     3.  หน่วยของการเก็บวัสดุ (Storage Module)
                     4.  สถานีหยิบและฝากวัสดุ (Pickup and Deposit Station)

           อุปกรณ์พิเศษของระบบ AS/RS
                    1. รถเคลื่อนย้ายช่องทางขนส่งวัสดุ (Aisle Transfer Car)
                    2. อุปกรณ์ตรวจสอบถังบรรจุวัสดุว่างเปล่า/เต็ม
                    3. สถานีวัดขนาดโหลด (Sizing Station)
                    4. สถานีบ่งชี้โหลด (Load Identification Station)

           การประยุกต์ใช้ระบบ AS/RS
                   การแยกใช้งานของระบบ AS/RS ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
                           1. จัดเก็บและเรียกคืน Unit Load
                           2. หยิบวัสดุตามสั่ง (Order picking)
                           3. ระบบจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ

          การจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ
                   1.ใช้เก็บชุดของชิ้นงานประกอบ
                   2. สนับสนุนการผลิตแบบ JIT
                   3. ใช้เป็นบัฟเฟอร์สำหรับจัดเก็บวัสดุ
                   4. สามารถใช้งานร่วมกันกับระบบบ่งชี้ชิ้นงานแบบอัตโนมัติ
                   5.ทำให้เกิดการควบคุมและการติดตามวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ
                   6. สนับสนุนการทำให้เกิดการทำงานแบบอัตโนมัติทั้งโรงงาน

ข้อดีของระบบ AS/RS
                 Automated Storage and Retrieval System เป็นระบบที่สามารถรับและจัดเก็บสินค้าเข้าคลังได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ ลดระยะเวลาการทำงาน และลดจำนวนพนักงานงานในการจะเก็บสินค้า ระบบ AS/RS จะคำนวณการจัดเก็บสินค้าที่มีอัตราการเคลื่อนไหวสูงไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสม สะดวกต่อการหยิบ อีกทั้งยังช่วยป้องกันความเสียหายในการขนย้ายสินค้า และช่วยจัดเรียงสินค้าให้เป็นระบบและระเบียบมากขึ้น ระบบสามารถนำไปใช้ร่วมกับ โปรแกรมระบบจัดการในคลังสินค้า (Warehouse Management System Software,

ประโยชน์ที่จะได้รับ
                    เพิ่มความรวดเร็วในการคัดแยกสินค้าลดเวลาการทำงานและลดงานที่ซ้ำซ้อนคัดแยกถูกต้องแม่นยำ100%ประหยัดพื้นที่คัดแยกสินค้า
                    ลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าลดพื้นที่ในการขนถ่ายสินค้าเพิ่มปริมาณการจัดเก็บสินค้าเพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสินค้าทำงานรวดเร็ว แม่นยำบริหารทรัพยากรบุคคลประหยัดพลังงาน
                    ระบบ AS/RS เหมาะกับงานอุตสาหกรรมใหญ่ๆ  ที่มีการขนถ่ายสินค้าครั้งละมากๆ เพื่อความสะดวกรวดเร็วแม่นยำและประหยัดพลังงานคนในการขนย้าย

สรุป 
                       โรงงานอุตสหกรรมขนาดใหญ่ มีความจำเป็นที่ต้องนำระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและ มีคว่ทคล่องตัวสูงในการเรียกสินค้าเพื่อรวดเร็วในการจัดส่งให้ลูกค้าได้อย่างทันเวลา และสามารถลดต้นทุนทางด้านบุคลากรได้เป็นอย่างดี แต่อาจจะมีค่าใช้จ่ายสูงในการติดตั้งครั้งแรก และการดูแลรักษา 


Rack Clad, Automated Storage and Retrieval System (ASRS) Warehouse | SSI...

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2562

เครื่อง cnc dnc nc



1.   เครื่อง CNC (Computer Numerical Control) คือ เครื่องจักรกลแบบอัตโนมัติที่มีการทำงานด้วยระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยตัวเครื่องจะทำงานตามแบบที่เราได้จัดใส่โปรแกรมการทำงานเข้าไป และสามารถใช้ได้หลายภาษา ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เครื่องจักรชนิดนี้กับงานโลหะที่ต้องการความละเอียดและแม่นยำ หรือมีความซับซ้อนสูง โดยมีจุดประสงค์ในสร้างเครื่อง CNC ขึ้นมาเพื่อให้สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติในแบบรวดเร็ว แม่นยำ และสามารถทำงานในแบบที่ซับซ้อนได้ดี ด้วยระบบมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมมุมต่างๆ ได้อย่างละเอียด ทำให้ชิ้นงานออกมาดีนั่นเอง





2.  เครื่อง DNC Distribution Numerical Control: DNC SYSTEM คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน






   3.   NC  ย่อมาจาก Numerical Control หมายถึงการควบคุมการทำงานของเครื่อง NC ด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปของคำสั่งซึ่งก็คือ โปรแกรม NC. ระบบ NC ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1950 ซึ่งส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือกลเป็นส่วนใหญ่.ในปัจจุบันระบบ NC จะถูกแทนที่ด้วยระบบ CNC เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบ NC ไม่มีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการทำงาน  อีกทั้งเครื่องจักรที่ถูกควบคุมด้วย NC  ก็ไม่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว.







วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562

เทคโนโลยีสารสนเทศ

ความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
 เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT เป็นคำที่ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง ในปัจจุบันนี้เกือบทุกสายอาชีพ ล้วนเล็งเห็นถึงความสำคัญของ ‘เทคโนโลยีสารสนเทศ’ แทบทั้งนั้น ซึ่งคำว่า ‘เทคโนโลยีสารสนเทศ’ มาจากคำว่าเทคโนโลยีและคำว่า สารสนเทศมารวมกัน ซึ่งแต่ล่ะคำมีความหมายเป็นของตัวเองดังนี้…
1.เทคโนโลยี (Technology) นำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ในกระบวนผลิต , สร้าง , ช่วยดำเนิน งาน ตลอดจนนำมาควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งไม่ได้มีตามธรรมชาติ ช่วยทำให้มนุษย์ได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกจากเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันและดำเนินงานในด้านต่างๆ
2.สารสนเทศ (Information) เป็นผลลัพธ์อันเกิดมาจากการประมวลผลข้อมูลดิบ ทั้งจัดข้อมูล , เรียงลำดับข้อมูล ,คำนวณรวมทั้งสรุปผล หลังจากนั้นก็นำข้อมูลที่ผ่านการสังเคราะห์แล้ว มานำเสนอในรูปแบบของรายงานเช่น ข่าว , ความรู้ทางวิชาการ และธุรกิจ
เมื่อนำเอาคำว่า ‘เทคโนโลยี’ กับ ‘สารสนเทศ’ มารวมเข้าด้วยกันแล้ว จึงสามารถสรุปได้ว่า ‘เทคโนโลยีสารสนเทศ’ เป็นการประยุกต์นำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ มาจัดสารสนเทศตามต้องการ จากการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ , เทคโนโลยีโทรคมนาคม รวมทั้งความรู้ในการดำเนินงานสารสนเทศในขั้นตอนต่างๆ  ทำให้คำว่า ‘เทคโนโลยีสารสนเทศ’ ในปัจจุบันมีความหมายกว้างขวางมาก ซึ่งสามารถจำแนกตามการพบเจอในชีวิตประจำวันได้ดังนี้
เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นวิธีเก็บรวบรวมข้อมูลเข้าระบบ เช่น ในการสอบแข่งขันที่มีผู้สอบจำนวนมาก ทางสถานศึกษาก็จะให้ใช้ดินสอระบายตามวงกลมที่เลือกตอบ เพื่อนำไปให้ ‘เครื่องอ่าน’ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยความรวดเร็ว โดยเป็นการทุ่นกำลังมนุษย์ หรือเมื่อคุณไปซื้อสินค้า ณ ห้างสรรพสินค้า ก็มี Bar code ปรากฏอยู่บนสินค้าทุกชิ้น พนักงานก็จะนำสินค้าผ่านเครื่องตรวจ เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บรวบรวมทั้งแสดงราคา และบันทึกว่าสินค้าประเภทนี้ถูกซื้อไปเท่าไหร่แล้ว
ประมวลผล ข้อมูลที่รวบรวมมาได้จะต้องนำมาเก็บในสื่อต่างๆ เช่น CD , ไฟล์.MP3 เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่าน็จะถูกนำมาประมวลผลตามจุดประสงค์ต่างๆ เช่น แบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่ม , เรียงลำดับข้อมูล , คำนวณ รวมทั้งคัดแยกข้อมูลให้เป็นระเบียบ
แสดงผลลัพธ์ อุปกรณ์ที่ในการแสดงผลลัพธ์นั้นมีประสิทธิภาพสูงมาก ทั้งแสดงเป็นตัวหนังสือ , รูปภาพ รวมทั้งพิมพ์ออกมาเป็นกระดาษ สำหรับการแสดงผลลัพธ์นั้น ก็มีทั้งแสดงเป็นภาพ, เสียง , วีดีทัศน์ เป็นต้น
สำเนา เมื่อนำข้อมูลมาเก็บแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำสำเนาก็จะสามารถทำได้ง่าย รวมทั้งจัดทำได้เป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นอุปกรณ์ช่วยในการทำสำเนา จึงเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร , CD , Flash Drive ซึ่งทำสำเนาได้จำนวนมาก
สื่อสารโทรคมนาคม เป็นส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่ หรือ นำไปยังปลายทางจำนวนมาก ซึ่งในปัจจุบันมีอุปกรณ์โทรคมนาคมหลายประเภททั้ง โทรเลข , โทรศัพท์ , เส้นใยนำแสง , เคเบิลใต้น้ำ เป็นต้น
เทคโนโลยีคืออะไรและหน้าที่ของระบบ
‘เทคโนโลยี’ เป็นการใช้ปัจจัยต่างๆซึ่งมีความสำคัญผสมผสานเข้าด้วยกัน ทั้ง ความรู้ , อุปกรณ์ , ความคิด , หลักการ , เทคนิค , ระเบียบวิธี , กระบวนการ รวมทั้งเป็นการนำศาสตร์วิทยาศาสตร์ สิ่งประดิษฐ์อันทันสมัย รวมทั้งวิธีต่างๆมาประยุกต์ใช้ เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดียิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นวิธีเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้มีมากกว่าเคยเป็นมา
ในช่วงผ่านมา ทั้งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เข้ามามีเข้ามามีความสำคัญเพิ่มขึ้นจนกระทั่งสร้างนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมามากมาย ทั้ง เรียนรู้ , ผลิต ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากไอเดียใหม่ๆ ทำให้เกิดผลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ , สังคม , การเมือง , สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม การเข้ามาของเทคโนโลยีทำให้สังคมมนุษย์ เติบโตเป็นสังคมที่ดำรงชีวิตอย่างสลับซับซ้อนมากขึ้น ทำให้ปราศจากพรมแดนมาขว้างกัน
‘กระแสโลกาภิวัฒน์’ ดำเนินเข้ามาสู่นานาประเทศอย่างรวดเร็ว ซึ่งมาจากการผสมผสาน 4 องค์ความรู้เข้าด้วยกัน คือ อิเล็กทรอนิกส์ , คอมพิวเตอร์ , โทรคมนาคม , ข่าวสาร ทำให้ทุกประเทศโลกแลกเปลี่ยนความรู้พร้อมสื่อสารกันได้ทุกหนทุกแห่งได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ บริหารได้ทุกเวลา รวมถึงทางด้านเศรษฐกิจ การลงทุนซื้อ-ขาย รวมทั้งทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างรวดเร็ว…

ระบบของเทคโนโลยี
‘ระบบ’ ประกอบด้วยทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ Input , Process , Output ซึ่งแปลว่า อะไรก็ตามที่เป็น ‘ระบบ’ ขั้นตอนทำงานของทั้ง 3 องค์ประกอบนี้ จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ต่อกัน ยกตัวอย่างเช่น ระบบบำบัดน้ำเสีย มี Input คือ ‘น้ำเสีย’ ซึ่งมาจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งต้องนำมาผ่าน Process เพื่อบำบัดอย่างเหมาะสม จนได้ผลลัพธ์คือน้ำใสสะอาดที่ได้รับบำบัดแล้ว
ทั้งนี้ระบบเทคโนโลยี เป็นระบบที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหารวมทั้งนำมาตอบสนองความต้องการ จากการใช้ระบบเทคโนโลยี แบ่งองค์ประกอบออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่…
• Input คือ ปัญหาที่ต้องแก้ไข หรือ ความประสงค์ของมนุษย์
• กระบวนเทคโนโลยี คือ ขั้นตอนแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความเรียกร้องมนุษย์ โดยใช้ทรัพยากรทางเทคโนโลยีเพื่อให้ได้ผลผลิตตามความประสงค์
• ผลผลิต คือ สิ่งที่ได้มาอันเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยี หรือผลสุดท้ายอันพึงประสงค์ที่ได้มาจากกระบวนการแก้ปัญหานั่นเอง ซึ่งผลผลิตประเภทนี้อาจเป็นชิ้นงาน บางครั้งอาจเป็นวิธีการก็ได้
• ทรัพยากรทางเทคโนโลยี คือ สิ่งจำเป็นที่ใช้ในการแก้ปัญหา เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประการสุดท้ายนั่นเอง โดยทรัพยากรเทคโนโลยีสามารถแบ่งออกเป็น 7 ข้อ ได้แก่ มนุษย์ , ข้อมูลสารสนเทศ , เครื่องมือ , พลังงาน , ทุน-ทรัพย์สิน และเวลา
• ปัจจัยที่มีส่วนขัดขวางเทคโนโลยีมีมากมายหลายสิ่ง มันคือสิ่งอันเป็นข้อจำกัด , ข้อพิจารณา รวมทั้งสิ่งที่ต้องคำนึงถึง โดยมันจะทำให้การแก้ปัญหาได้ผลลัพธ์แตกต่างกันออกไป เช่น มีต้นทุนต่ำ , มีเวลาอันจำกัด ปราศจากความรู้ ความชำนาญ รวมทั้งขาดทักษะ
 ประโยชน์ของเทคโนโลยี
• ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตมนุษย์
• เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์
• อำนวยความสะดวกสบาย
• ประหยัดเวลา
• ทำให้ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
• โลกมีความทันสมัยล้ำหน้า
บทสรุป
 มีผู้กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ IT นั้น การจัด T : Technology ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง เพราะถ้ามีงบประมาณก็จัดหาได้ และใช้เทคโนโลยีเป็นโดยไม่ยาก  แต่สิ่งที่ขาดแคลนคือ   I : Information หรือสารสนเทศ ที่น่าจะเป็นเนื้อหาของการใช้เทคโนโลยี เพราะถ้าขาดข้อมูลสารสนเทศ และขาดการเชื่อมโยงกระบวนการให้เข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว  ตัวระบบเทคโนโลยีก็ไร้ความหมาย และสูญค่าคุณประโยชน์ และความคาดหวังว่าในอนาคต ก็น่าจะได้พบความสมบูรณ์ของระบบข้อมูลสารสนเทศที่หลากหลาย ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของระบบเทคโนโลยี และได้พบการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2562

รายชื่อสมาชิกในห้องการจัดการB

ชือ-สกุล                                                 ชื่อเล่น
อาจารย์ ธภัทร  ชัยชูโชค                         อาจารย์ปาล์ม
นางสาว กนกวรรณ   ตรงจิตต์                 น้องพิมพ์
นายจตุพร               อินสุวรรณโณ           พี่หมู
นางสาวจีมล           หมุดกิจุฬา                 จี
นางสาวเจนจรา      ทองสลับล้วน            น้องทราย
นางสาวชลธิชา       เกลี้ยงจันทร์            พี่โอ
นายไชยวัฒน์         เจริญวงศ์                  บิว
นางสาวณัฐรดา         คุ้ยเหล็ก                เน
นายธนกร                  แดงพะเนิน            เติล
นายธนพล                รักสมัย                   กล๊อฟ
นางสาวนัฎฐิรา         หอมช่วย                พี่โม
นางสาวนิภาภรณ์      เทพเดชา              พี่บี
นางสาวบุปผา           ชุมนม                    มะปราง
นายประพันธ์            มีรุ่งเรือง                 พี่พัน
นายพจนกร              ชินนา                     หนุ่ม
นายพุทธิวัฒน์          เกษรักษ์จิรสิน        เบียร์
นายมนตรี                 มิ่งเมือง                   บูม
นายรัฐมนต์                ช่วยเจริญ              มายด์
นางสาววรรณธิดา      ชุมแก้ว                 พี่ตี่
นายวิชัย                     บำรุงศรี                พี่คิว   
นายสิทธิโชค              พันธ์ยอด             เข็ม
นางสาวสุพัตรา           บินตาเอบ            พี่แป้ง
นางสาวอนุธิดา            เพ็ชรสุวรรณ     อัน 
นางสาวอุไรวรรณ         สอโส๊ะ                ญา

ประวัติส่วนตัว


ประวัติ ส่วนตัว

นาย กิตตินนท์  สุขชุม

ชื่อเล่น แวน

รหัส 605705041

เบอร์โทร 0950246170

ทำงานอยู่  MS 101  

ตำแหน่ง ต้นกลประจำเรือบรรทัดไทย 3

งานอดิเรก ตกปลา  เล่นกีต้า